ผลการดำเนินการ
ระบบฐานข้อมูลกลางเวชระเบียนผู้ป่วยนอก
เป็นระบบฐานข้อมูลผู้ป่วย ที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการรับ – ส่ง การจัดเก็บ
และการค้นหาข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
โดยระบบจะประกอบไปด้วยส่วนของฐานข้อมูลผู้ป่วย
ซึ่งจะช่วยให้สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและส่วนของ Client–Server
ซึ่งจะช่วยให้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ผลการทำงานของระบบ
1. หน้าจอสาหรับการนัดหมายตรวจ
ผู้ป่วยสามารถทาการนัดหมายตรวจโดยผ่านทางเจ้าหน้าที่เวชระเบียนเพื่อเข้ารับการรักษา
การนัดหมายประกอบด้วยชื่อเจ้าที่ผู้นัดหมาย ชื่อผู้ป่วย วันที่นัด บัตรนัดแพทย์
และสาเหตุที่นัด
2. หน้าจอสาหรับการบันทึกประวัติการรักษา
แพทย์สามารถทาการบันทึกประวัติการรักษาของผู้ป่วย
การบันทึกประวัติการรักษาประกอบด้วยชื่อผู้ป่วย ชื่อแพทย์ผู้ตรวจ ชื่อโรค
วันที่ทาการรักษา อาการป่วย และรายละเอียดการรักษา
เพื่อเก็บเป็นประวัติของผู้ป่วยสาหรับใช้ในการรักษาครั้งต่อไปได้
3. รายงานประวัติการรักษาของผู้ป่วย
แพทย์สามารถเรียกดูประวัติการรักษาของผู้ป่วยที่เคยเข้ารับการรักษากับโรงพยาบาลในเครือได้
เพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคและตรวจรักษาได้ดียิ่งขึ้น
รายงานประวัติการรักษาประกอบด้วยชื่อผู้ป่วย อายุผู้ป่วย วันที่รักษา ชื่อโรค
ยาที่ได้รับ อาการป่วย วิธีการรักษา ชื่อแพทย์ผู้ตวรจ และโรงพยาบาลที่รักษา
4. รายงานการส่งต่อผู้ป่วย
เมื่อแพทย์ตรวจรักษาแล้วไม่สามารถรักษาผู้ป่วยได้
ณ สถานพยาบาลแห่งนั้น ๆ แพทย์สามารถทำการส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลที่สามารถรักษาผู้ป่วยได้
รายงานการส่งตัวผู้ป่วยประกอบด้วยรหัสผู้ป่วย ชื่อผู้ป่วยเพศ วันเกิด สัญชาติ
ที่อยู่ เบอร์ติดต่อ ชื่อโรค อาการป่วย สาเหตุที่ส่ง วันที่ส่ง
โรงพยาบาลที่ส่งผู้ป่วย และโรงพยาบาลที่รับผู้ป่วย
ฐานข้อมูลกลางเวชระเบียนผู้ป่วยนอก
ซึ่งสามารถประเมินจากดัชนีต่าง ๆ ดังนี้
- ระบบให้ข้อมูลประวัติการรักษาของผู้ป่วยได้ถูกต้องและครบถ้วน
- เวลาที่ใช้ในการบันทึกและสืบค้นข้อมูลที่ต้องการลดลง
- ความซ้าซ้อนของข้อมูลประวัติเวชระเบียนและความผิดพลาดอันเกิดจากการบันทึกข้อมูลลดลง
- ค่าใช้จ่ายและพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสารสื่อกระดาษลดลง
- ความพึงพอใจและความสะดวกของผู้ป่วยในการเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลในเครือเพิ่มขึ้น
- การมีสารสนเทศและฐานความรู้ที่ช่วยสนับสนุนการวินิจฉัยและการรักษาโรคของแพทย์ต่อผู้ป่วย
- การมีสารสนเทศและฐานข้อมูลที่สามารถใช้งานร่วมกันระหว่างสถานพยาบาลได้ตลอดเวลา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น